วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย "เพราะภาษาไทยยังไม่ตาย จึงไม่วายต้องเปลี่ยนแปลง"

"เพราะภาษาไทยยังไม่ตาย จึงไม่วายต้องเปลี่ยนแปลง"

          ภาษาทุกภาษาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของ ภาษาจะค่อยเป็นค่อยไปจนเราเกือบสังเกตไม่เห็นในช่วงเวลาส้ันๆ แต่หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่ห่างกันก็จะ เห็นความเปลี่ยนแปลง         
          ภาษาใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะตายไปในที่สุดเช่น ภาษาสันสกฤต และภาษาละติน การเปลี่ยนแปลงของภาษามีอยู่สองลกัษณะ คือเลิกใช้ กับ สร้างขึ้นมาใหม่เพราะความก้าวหน้าทางวิทยากรที่มุษย์สร้างขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เห็นได้ง่ายคือ 
๑) การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ การเปลี่ยนเสียงสระ เปลี่ยนจากสระเสียงส้ันเป็น สระยาวเช่น 
        ก. การกลมกลืนเสียง เช่น อย่างนี้ - ยังงี้ อย่างไร - ยังไง 
        ข. การกร่อนเสียง เช่น ฉันนั้น - ฉะนั้น หมากพร้าว - มะพร้าว 
        ค. การตัดเสียง เช่น อุโบสถ - โบสถ์ ศิลปะ - ศิลป์  
        ง. การกลายเสียง เช่น สะพาน - ตะพาน สภาวะ - สภาพ  
        จ. การเพิ่มเสียง เช่น ผักเฉด - ผักกะเฉด ลูกดุม - ลูกกะดุม
        ฉ. การสลับเสียง เช่น ตะกร้า - กะต้า (ในภาษาถิ่นอีสาน) ตะไกร - กะไต (ในภาษาถิ่นอีสาน) 


๒) การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำ ความหมายของคาํอาจจะกว้างขึ้น แคบลง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น
        ก. ความหมายแคบเข้า (narrowing of meaning) คำยืมที่นำมาใช้แล้วความหมายแคบหรือจำกัดลงจากความหมายในภาษาเดิม
          เคารพ เดิม      แปลว่า            เคารพ รุ่งเรือง ความหนัก
                    ปัจจุบัน แปลว่า            เคารพ
          ชรา    เดิม      แปลว่า             ความแก่ ความเสื่อม คร่ำคร่า
                   ปัจจุบัน แปลว่า             แก่ทางกาย
          กุศล  เดิม      แปลว่า             คนที่มีคุณธรรม
                   ปัจจุบัน แปลว่า             คุณธรรม


      ข. ความหมายกว้างออก widening of meaning) หมายถึง ความหมายของคำที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย ขยายออกจากความหมายของคำในภาษาเดิม ตัวอย่างเช่น

          วิตถาร เดิม      แปลว่า           กว้าง ละเอียด
                    ปัจจุบัน แปลว่า           กว้าง ละเอียด ประหลาด                                                                พิสดาร
         ตีน      เดิม      แปลว่า            อวัยวะที่ไว้ใช้เดิน
                   ปัจจุบัน แปลว่า            ตีนผม ตีนโรง ตีนศาล ตีนบันได
         สวน    เดิม      แปลว่า            ที่เพาะปลูกต้นไม้กั้นไว้เป็น                                                            ขอบเขต

                   ปัจจุบัน แปลว่า             สวนงู สวนสัตว์ สวนนก

       ค. ความหมายย้ายที่  (transference of meaning) หมายถึง  ความหมายของคำในภาษาเดิมสูญหายไป และคำนั้นได้นำมาใช้ในภาษาไทยโดยกำหนดความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 

           อาวุโส        เดิมใช้เรียก"ผู้มีอายุน้อยกว่า       
                            ปัจจุบันใช้เรียก"ผู้มีอายุมาก 
         "ิสิต           เดิมแปลว่า"ลับ เหลา เสี้ยม"        
                           ไทยใช้หมายถึง"ผู้ที่เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย 
         "สงสาร      เดิมแปลว่าการเวียนว่ายตายเกิด" 
                           ไทยใช้หมายถึงความรู้สึกเป็นห่วงใยเมตตากรุณา"



๓) การเปลี่ยนแปลงรูปประโยค ภาษาไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรูปประโยคไปจากเดิมใน หลายลักษณะ เกิดจากการใช้ประโยคหรือกลุ่มคำที่แปลในลักษณะที่เลียนแบบโครงสร้างของภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์อันเนื่องมาจากการเลียนแบบระบบประโยคภาษาต่างประเทศ
          ตัวอย่างประโยคที่ได้รับอิทธิพลจากโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น
                    ๑.  เขาถูกเชิญไปรับประทานอาหาร (ผิด)
                         เขาได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร (ถูก)
                    ๒. เขาได้รับการลงโทษอย่างหนัก (ผิด)
                        เขาถูกลงโทษอย่างหนัก (ถูก)
                    ๓. เขาจับรถไฟไปเชียงใหม่ (ผิด)
                        เขาโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ (ถูก)
                        เขาไปเชียงใหม่ทางรถไฟ  (ถูก)
                    ๔. กำหนดนัดตรงกับ ๒๐ นาฬิกา แต่เขามาสายไป ๑๕ นาที (ผิด)
                        กำหนดนัดตรงกับ ๒๐ นาฬิกา แต่เขามาช้าไป ๑๕ นาที (ถูก)
                    ๕. เธอพบตัวเองอยู่ในห้องคนเดียว  (ผิด)
                        เธอรู้สึกตัวว่าอยู่ในห้องคนเดียว  (ถูก)
                   
รายการอ้างอิง
ปราณี  กุลละวณิชย์.  ๒๕๔๕.  กลไกที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง.  การเปลี่ยนแปลงของภาษา ใน     เอกสารการสอนชุดวิชา  ภาษาไทย ๓ หน่วยที่ ๗-๑๕.  พิมพ์ครั้งที่  ๑๐.  นนทบุรี:          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖.  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
ศุภรางศุ์  อินทรา.  2548.  การเปลี่ยนแปลงความหมาย [Online]. แหล่งที่มา: http://www.huso.           buu.ac.th/thai/web/personal/subhrang/208322/208322chap7.htm [8 กุมภาพันธ์ 2554]

เฉลิมลาภ ทองอาจเอกสารความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของภาษา 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น