วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กาพย์เห่เรือ "เจ้าฟ้ากุ้ง" จากเห่เรือเล่น มาเป็น เห่เรือหลวง

กาพย์แห่เรือ "เจ้าฟ้ากุ้ง" 
จากเห่เรือเล่น มาเป็น เห่เรือหลวง

สรุปเนื้อหาเพื่อเตรียมสอบ ดังนี้

1. กวีผู้ทรงพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือฉบับที่นำมาให้นักเรียนศึกษานี้คือใคร 
     เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง    
 2. วรรณคดีเรื่อง กาพย์เห่เรือ เป็นวรรณคดีในสมัยใด
     สมัยอยุธยาตอนปลาย  ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ    
 3. พระอิสริยยศสูงสุดของกวีผู้ทรงพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือฉบับนี้ คือพระอิสริยยศใด
     เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ พระมหาอุปราชเสวยบวรราชสมบัติ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  
 4. กวีผู้ทรงพระนิพนธ์เรื่องกาพย์เห่เรือนี้ ทรงบูรณะซ่อมสร้างวิหารของวัดใด
     วัดมงคลบพิตร ซึ่งถูกฟ้าผ่าตรงยอดมณฑป  
 5. วรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือนี้ กวีทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด และแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเดินทางไปที่ใด
     เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือนี้ขึ้น เพื่อใช้เห่เรือเล่นในคราวที่พระองค์ตามเสด็จพระราชบิดา(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี 
6. วรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือนี้ ได้เป็นต้นแบบให้กวีรุ่นหลังแต่งกาพย์เห่อีกหลายสำนวน ได้แก่กาพย์เห่เรื่องอะไรบ้าง
     กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2  บทเห่พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และกาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 6 
7. เนื้อหาของกาพย์เห่เรือฉบับนี้มีกี่ตอน แต่ละตอนประกอบด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง
     กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มี 2 ตอน ดังนี้
    -  ตอนที่ 1 กล่าวชมกระบวนเรือ ชมปลา ชมไม้ ชมนก และบทครวญถึงนางอันเป็นที่รัก 
    -  ตอนที่ 2 ประกอบด้วย บทเห่กากี และบทเห่สังวาส (เนื้อหาที่ตัดมาให้เรียนในแบบเรียนมีเฉพาะตอนแรก)  
8. กาพย์เห่เรือ เป็นวรรณคดีร้อยกรองประเภทใด  และแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใดบ้าง
     กาพย์เห่เรือ เป็นวรรณคดีประเภทกาพย์เห่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลงสี่สุภาพ กับ กาพย์ยานี 11 เนื้อหาแต่ละตอนจะขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน  โดยกาพย์ยานีบทแรกจะมีเนื้อความตรงกับเนื้อความในโคลงสี่สุภาพ 
9. ลำนำการเห่เรือ มี 3 อย่าง คือ
                1. สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือเข้าเทียบท่าเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
                2. ช้าสวะเห่ เป็นเห่ช้า ใช้พลพายในท่านกบิน

                3. มูลเห่ เป็นเห่เร็ว ใช้เห่ต่อจากช้าสวะเห่ ใช้พายเมื่อเรือทวนกระแสน้ำ การเห่โคลงนำกาพย์เรียกว่า “เกริ่นโคลง”


***มาฟังบทวิเคราะห์เรื่อง กาพย์เห่เรือ ได้เลยครับ***





 

การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย "เพราะภาษาไทยยังไม่ตาย จึงไม่วายต้องเปลี่ยนแปลง"

"เพราะภาษาไทยยังไม่ตาย จึงไม่วายต้องเปลี่ยนแปลง"

          ภาษาทุกภาษาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของ ภาษาจะค่อยเป็นค่อยไปจนเราเกือบสังเกตไม่เห็นในช่วงเวลาส้ันๆ แต่หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่ห่างกันก็จะ เห็นความเปลี่ยนแปลง         
          ภาษาใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะตายไปในที่สุดเช่น ภาษาสันสกฤต และภาษาละติน การเปลี่ยนแปลงของภาษามีอยู่สองลกัษณะ คือเลิกใช้ กับ สร้างขึ้นมาใหม่เพราะความก้าวหน้าทางวิทยากรที่มุษย์สร้างขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เห็นได้ง่ายคือ 
๑) การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ การเปลี่ยนเสียงสระ เปลี่ยนจากสระเสียงส้ันเป็น สระยาวเช่น 
        ก. การกลมกลืนเสียง เช่น อย่างนี้ - ยังงี้ อย่างไร - ยังไง 
        ข. การกร่อนเสียง เช่น ฉันนั้น - ฉะนั้น หมากพร้าว - มะพร้าว 
        ค. การตัดเสียง เช่น อุโบสถ - โบสถ์ ศิลปะ - ศิลป์  
        ง. การกลายเสียง เช่น สะพาน - ตะพาน สภาวะ - สภาพ  
        จ. การเพิ่มเสียง เช่น ผักเฉด - ผักกะเฉด ลูกดุม - ลูกกะดุม
        ฉ. การสลับเสียง เช่น ตะกร้า - กะต้า (ในภาษาถิ่นอีสาน) ตะไกร - กะไต (ในภาษาถิ่นอีสาน) 


๒) การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำ ความหมายของคาํอาจจะกว้างขึ้น แคบลง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น
        ก. ความหมายแคบเข้า (narrowing of meaning) คำยืมที่นำมาใช้แล้วความหมายแคบหรือจำกัดลงจากความหมายในภาษาเดิม
          เคารพ เดิม      แปลว่า            เคารพ รุ่งเรือง ความหนัก
                    ปัจจุบัน แปลว่า            เคารพ
          ชรา    เดิม      แปลว่า             ความแก่ ความเสื่อม คร่ำคร่า
                   ปัจจุบัน แปลว่า             แก่ทางกาย
          กุศล  เดิม      แปลว่า             คนที่มีคุณธรรม
                   ปัจจุบัน แปลว่า             คุณธรรม


      ข. ความหมายกว้างออก widening of meaning) หมายถึง ความหมายของคำที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย ขยายออกจากความหมายของคำในภาษาเดิม ตัวอย่างเช่น

          วิตถาร เดิม      แปลว่า           กว้าง ละเอียด
                    ปัจจุบัน แปลว่า           กว้าง ละเอียด ประหลาด                                                                พิสดาร
         ตีน      เดิม      แปลว่า            อวัยวะที่ไว้ใช้เดิน
                   ปัจจุบัน แปลว่า            ตีนผม ตีนโรง ตีนศาล ตีนบันได
         สวน    เดิม      แปลว่า            ที่เพาะปลูกต้นไม้กั้นไว้เป็น                                                            ขอบเขต

                   ปัจจุบัน แปลว่า             สวนงู สวนสัตว์ สวนนก

       ค. ความหมายย้ายที่  (transference of meaning) หมายถึง  ความหมายของคำในภาษาเดิมสูญหายไป และคำนั้นได้นำมาใช้ในภาษาไทยโดยกำหนดความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 

           อาวุโส        เดิมใช้เรียก"ผู้มีอายุน้อยกว่า       
                            ปัจจุบันใช้เรียก"ผู้มีอายุมาก 
         "ิสิต           เดิมแปลว่า"ลับ เหลา เสี้ยม"        
                           ไทยใช้หมายถึง"ผู้ที่เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย 
         "สงสาร      เดิมแปลว่าการเวียนว่ายตายเกิด" 
                           ไทยใช้หมายถึงความรู้สึกเป็นห่วงใยเมตตากรุณา"



๓) การเปลี่ยนแปลงรูปประโยค ภาษาไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรูปประโยคไปจากเดิมใน หลายลักษณะ เกิดจากการใช้ประโยคหรือกลุ่มคำที่แปลในลักษณะที่เลียนแบบโครงสร้างของภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์อันเนื่องมาจากการเลียนแบบระบบประโยคภาษาต่างประเทศ
          ตัวอย่างประโยคที่ได้รับอิทธิพลจากโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น
                    ๑.  เขาถูกเชิญไปรับประทานอาหาร (ผิด)
                         เขาได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร (ถูก)
                    ๒. เขาได้รับการลงโทษอย่างหนัก (ผิด)
                        เขาถูกลงโทษอย่างหนัก (ถูก)
                    ๓. เขาจับรถไฟไปเชียงใหม่ (ผิด)
                        เขาโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ (ถูก)
                        เขาไปเชียงใหม่ทางรถไฟ  (ถูก)
                    ๔. กำหนดนัดตรงกับ ๒๐ นาฬิกา แต่เขามาสายไป ๑๕ นาที (ผิด)
                        กำหนดนัดตรงกับ ๒๐ นาฬิกา แต่เขามาช้าไป ๑๕ นาที (ถูก)
                    ๕. เธอพบตัวเองอยู่ในห้องคนเดียว  (ผิด)
                        เธอรู้สึกตัวว่าอยู่ในห้องคนเดียว  (ถูก)
                   
รายการอ้างอิง
ปราณี  กุลละวณิชย์.  ๒๕๔๕.  กลไกที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง.  การเปลี่ยนแปลงของภาษา ใน     เอกสารการสอนชุดวิชา  ภาษาไทย ๓ หน่วยที่ ๗-๑๕.  พิมพ์ครั้งที่  ๑๐.  นนทบุรี:          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖.  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
ศุภรางศุ์  อินทรา.  2548.  การเปลี่ยนแปลงความหมาย [Online]. แหล่งที่มา: http://www.huso.           buu.ac.th/thai/web/personal/subhrang/208322/208322chap7.htm [8 กุมภาพันธ์ 2554]

เฉลิมลาภ ทองอาจเอกสารความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของภาษา 




โวหารการเขียน "อธิบาย-บรรยาย-พรรณนา"

การใช้ภาษาอธิบาย บรรยายและพรรณนา


ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นี้ จะเรียนโวหารการเขียน/กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการถ่ายทอดและสื่อสาร 3 ประเด็นคือ อธิบาย บรรยาย และพรรณนา ซึ่งครูจะขออธิบายแบบสรุปสั้น และง่ายต่อการจำไปใช้ในห้องสอบ ดังนี้

     1. การบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง การกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิด สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้นๆ เนื้อหาในการบรรยายอาจเป็นเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมุติ เช่น นิทาน นิยาย เรื่องสั้นที่มีการเล่าเรื่อง 
ตัวอย่างการบรรยาย
            ผมเกิดที่บ้านสวน ธนบุรี หน้าบ้านติดคลองวัดดอกไม้ไม่ไกลจากสถานีตำรวจบุปผารามปัจจุบันมากนัก สถานีตำรวจแห่งนี้สร้างมาก่อนผมเกิด แต่ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เดิมเป็นเรือนไม้สูง พื้นชั้นล่างลาดซีเมนต์ มีเรือนพักตำรวจเป็นเรือนแถวเก่าๆไม่กี่ห้อง หน้าโรงพักมีถนนผ่านกลาง ฝั่งตรงข้ามคือวัดดอกไม้ ซึ่งเป็นศัพท์ชาวบ้าน ภาษาราชการเรียกว่า วัดบุปผาราม 
                  เด็กบ้านสวน  ของ พ.เนตรรังษี
     
     2. การพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งหรือชี้ให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้นๆ
*การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่ออะไร และผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ส่วนการพรเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียดเพื่อสร้างความประทับใจ

ตัวอย่างการพรรณนา ด้วยวิธีชี้ลักษณะเด่น
               “อ้อมผ่านไม้ใหญ่ขนาดสองโอบ กองธงทั้งสี่พบเห็นพญาลอหมอบซุกอยู่กลางกอหญ้าเหลืองเกรียมหน้าแดงสดใสดังสีน้ำคร่ำ ขนปีกเลื่อมระยับจับแดดเป็นสีเขียวก่ำแกมคราม แล้วทาทับด้วยทองแจ่มจนสว่างไสว ขนหางอ่อนโค้งราวแกล้งดัด เหลือบแรรุ้งร่วง กลมกลืนอ่อนแก่ดูเรียวระหง ขนอกอ่อนนุ่มดูนวลเนียนราวไม่เคยคลุกฝุ่นเผ้าละอองดิน"         หุบเขากินคน ของ มาลา คำจันทร์

ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ
          " รัศมีมีเพียงเสียงดนตรี         ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน
 ระเมียนไม้ใบโบกสุโนกเกาะ           สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น                จังหวะโจนส่งจับรับกันไป"

ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ

       สูงระหงทรงเพรียวเรียวรู     งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา        ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย            จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตรีหักงอ                 ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังคุงตะเคียว        โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม         มันน่าเชยน่าชมนางเทวี"       
 [บทละคร เรื่องระเด่นลันได  ของพระมหามนตรี(ทรัพย์)]


     3. การอธิบาย คือ การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจความจริง ความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมแยกได้ ประเภท
     3.1 การอธิบายตามลำดับขั้นตอน มักใช้กับการอธิบายกิจกรรม การปฏิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เป็นกระบวนการหรือกรรมวิธี มีขั้นตอนเป็นระยะไป เช่น การผลิตสิ่งของ การออกกำลังกาย การประกอบอาหาร เป็นต้น
     3.2 การใช้ตัวอย่าง ใช้เพื่อช่วยในการอธิบายในสิ่งที่เข้าใจยาก
     3.3 การเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างกัน เหมาะกับการอธิบายสิ่งแปลกใหม่หรือสิ่งที่ผู้ฟังไม่คุ้นเคยมาก่อน โดยพยายามหาสิ่งที่ผู้ฟังผู้อ่านคุ้นเคยหรือรู้จักดีอยู่แล้ว นำสิ่งนั้นมาเทียบเคียงและชี้ให้เห็นว่าสิ่งใหม่ที่อธิบายนั้นมีอะไรบ้างที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างไปจากที่คุ้นเคยอยู่
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกัน
           รามเกียรติ์   รัชกาลที่ 1    มีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งกระจัดพลัดพรายอยู่นั้น ให้คุมกันเข้าเป็นเรื่องละเอียดลออ ทุกแง่ทุกมุม แม้จะแต่งเป็นกลอนบทละคร  แต่ก็มิได้คำนึงถึงการนำไปแสดงละครเป็นประการสำคัญ
           รามเกียรติ์ รัชกาลที่   มีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นบทละครในโดยตรง
                                                                                  รามเกียรติ์ปริทัศน์  ของ ชำนาญ รอดเหตุภัย
     3.4 การชี้สาเหตุหรือผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
     3.5 การนิยาม คือ การให้คำจำกัดความหรือกำหนดขอบเขต ข้อตกลงในเรื่องความหมายของคำหรือศัพท์เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีให้นิยาม
               ที่จริงแล้ว  โขนก็คือละครรำชนิดหนึ่งนั่นเอง (ละครใน) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 อธิบายความหมายไว้ว่า  โขน  คือ ละครชนิดหนึ่งซึ่งผู้เล่นสวมหน้ากากและหัวต่างๆที่เรียกว่า หัวโขน ส่วนละครนั้นนิยามไว้ว่า คือการมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็น                                                                 โขนละครฟ้อนรำ ภาคพิเศษ ของ สุนันทา โสรัจจ์

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
คุณครูศิริพรรณ รักร่วม

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา

พันธกิจ หมายถึง หน้าที่    

(คำที่เกี่ยวข้องคือ พันธ ,พันธ์,พันธะ หมายถึง ผูก,มัด,ข้อผูกมัด,ข้อผูกพัน   และ กิจ หมายถึง งานธุระ )


พันธกิจของภาษา คือ หน้าที่ของภาษา นั่นเอง


มาดูกันว่า พันธกิจของภาษามีอะไรบ้าง

๑. ภาษาช่วยธำรงสังคม สิ่งที่ใช้แสดงกฎเกณฑ์ทางสังคม ก็คือ ภาษาสังคมจะธำรงอยู่ได้ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ มนุษย์มีไมตรีต่อกัน เช่นการทักทายปราศรัย มนุษย์ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม และมนุษย์ประพฤตตนให้เหมาะแก่ฐานะของตน เช่น การใช้ภาษาตามฐานะในสังคมและใช้ให้เหมาะสมกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือบทกวีที่ช่วยธำรงสังคม เช่น “อันจระเข้เต่าปลาพึ่งวาริน สกุณบินร่อนเร่พึ่งเวหา ทารกเล็กเด็กน้อยพึ่งมารดา คนเข็ญใจไพร่ฟ้าพึ่งบารมี” 

๒. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล รวมถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม สติปัญญา ความคิด ทรรศนะ ภาษาของแต่ละคนที่แสดงออกจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคล เช่น “ฉันเหนื่อยเหลือเกิน ฉันไม่เดินต่อไปอีกแล้ว” (คนพูดยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง), “เหนื่อยได้ยินไหม เหนื่อยจะตายอยู่แล้วยังจะให้เดินอีก”(คนพูดชอบตำหนิผู้อื่น), “เหนื่อยจังเลย หยุดพักก่อนเถอะ”(คนพูดชอบชักชวนหรือเสนอแนะ) 

๓. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์แต่ละคนย่อมมีประสบการณ์และความคิดเห็นต่างกัน เมื่อมีการเผยแพร่และถ่ายทอดกันต่อๆไปโดยอาศัยภาษา ทำให้มีผู้รู้มากขึ้นและความรู้ก็เผยแพร่ขยายออกไปมากขึ้นเรื่อยๆสังคมมนุษย์จึงพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด เช่นภาษาพัฒนาความคิดและถ่ายทอดความคิดมนุษย์ ตัวอย่าง “หญิงไม่อยากมีสามี หาในโลกนี้หาไหน อันพวงบุปผามาลัย เกลียดแมลงภู่ไซร้ฤๅมี ควรจำธรรมดานาไร่ จักไม่รับไถใช่ที่ ฉันใดชาดานารี พึงมีสามีแนบตัว”

๔. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต มนุษย์ใช้ภาเพื่อดำเนินมาตรการหรือเตรียมรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นภาษาเพื่อกำหนดอนาคตให้ได้ดังประสงค์นั้น ผู้ใช้ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษา อาจใช้ในรูปแบบของการวางแผน การทำสัญญา การพิพากษา การดำเนินมาตรการ การพยากรณ์ เช่น “เย็นนี้คุณพ่อซื้อเค้กหน้าปากซอยมาให้ด้วยนะ” “พรุ่งนี้ต้องซ่อมรถให้เสร็จนะ” “ ...พลาง ธ ให้ตรวจเตรียมพล โดยสถลพยุหบาตร บอกพระราชกำหนด กฎแก่ขุนทัพขุนพล จักยกพหลยาตรา ในเวลาค่ำ... เป็นต้น 

๕. ภาษาช่วยจรรโลงใจ จรรโลงใจ หมายถึง ค้ำจุนจิตใจไว้ให้มั่นคง ใช้ได้กับทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม การจรรโลงใจจึงหมายถึงการค้ำจุนจิตใจให้เบิกบานมั่นคง ไม่ตกไปข้างอำนาจฝ่ายต่ำ เช่น การร้องเพลง การพูดให้ขบขัน หรือต้องการจรรโลงใจจากนิทาน บทกวี สุนทรพจน์ สุภาษิต คำขวัญ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องการการร้อยเรียงทางภาษาทั้งสิ้น นักภาษาศาสตร์มีความเชื่อว่าภาษากำเนิดจากมนุษย์นั่นเอง ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์ ภาษานอกจากมีความสำคัญต่อมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็อาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษาด้วย เพราะว่ามนุษย์มิได้คำนึงว่า ภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ มนุษย์เชื่อว่ามีคำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา มนุษย์มักชื่นชมหรือรังเกียจสิ่งใดก็ตามที่มีความหมายหรือมีเสียงของคำคล้ายคลึงกับสิ่งที่ตนนิยมหรือรังเกียจ เช่น “มาลัยเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องร้อยด้วยดอกรักและดอกบานไม่รู้โรย” “ฉันตั้งชื่อลูกว่า “จงพิพัฒน์” เพื่อเขาจะได้เจริญก้าวหน้าในชีวิต” “ถึงบ้านงิ้วหวิวจิตให้คิดขาม เห็นแต่หนามเข้าประเดี๋ยวยังเสียวอก” , “ถึงบางระกำโอ้กรรมระยำใจ เคราะห์กระไรถึงมาร้ายไม่วายเลย”




ข้อมูลอ้างอิง


https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/home/phanth-kic-khxng-phasa

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขัตติยพันธกรณี ...ชีวิตนี้เพื่อปวงไทย...


ขัตติยพันธกรณี 
ผู้แต่ง 
      ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
      ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ที่มาเเละความสำคัญ
     ขัตติยพันธกรณี (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์) เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นกวีนิพนธ์ที่ผู้ใดได้อ่านจะประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นบทที่มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศของเรา เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทางด้านเขมร ฝรั่งเศสส่งเรือปืนแล่นผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ เข้ามาจอดทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถืออำนาจเชิญธงชาติฝรั่งเศสขึ้นเหนือแผ่นดินไทย ตรงกันวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันชาติฝรั่งเศสและยื่นคำขาดเรียกร้องดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้อำนาจปกครองของไทยเนื่องจากไทยให้คำตอบล่าช้า ทูตปาวีของฝรั่งเศสจึงให้เรือปืนปิดล้อมอ่าวไทย เป็นการประกาศสงครามกับไทย ซึ่งข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ได้แก่
     ๑. ฝรั่งเศสในฐานะเป็นมหาอำนาจผู้คุ้มครองเวียดนามและกัมพูชา จะต้องได้ดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง
     ๒. ไทยจะต้องลงโทษนายทหารทุกคนที่ก่อการรุกรานที่ชายแดน
     ๓. ไทยจะต้องเสียค่าปรับแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวน ๓ ล้านฟรังค์เหรียญทอง (เท่ากับ ๑,๕๖๐ ,๐๐๐ บาท สมัยนั้น)
ขัติยพันธกรณี หมายความว่า เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์

จุดมุ่งหมายของการพระราชนิพนธ์
     เพื่ออำลาเจ้านาย พระบรมวงศ์ เพราะทุกข์โทมนัสเนื่องจากฝรั่งเศษเข้ามาคุกคามอธิปไตย ในประเทศสยามเเละสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ตอบเพื่อทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากพระราชนิพนธ์ของพระองค์
ช่วงเวลาที่เเต่ง
     ร.ศ. ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖
ประเภทคำประพันธ์
     ร้อยกรองประเภทโครงสี่สุภาพเเละอินทร์วิเชียรฉันท์
ลักษณะคำประพันธ์
     โคลงสี่สุภาพ จำนวน ๗ บท

       อินทรวิเชียรฉันท์  จำนวน ๒๖ บท
คุณค่าด้านสังคม
     ๑. สะท้อนความคิด ความเชื่อของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี
     
๒.ปลุกจิตสำนึกให้คนในชาติหวงแหนรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไปและตระหนักถึงความเหนื่อยยากของบรรพบุรุษที่ต้องยอมแลกด้วยชีวิตเพื่อรักษาฝืนแผ่นดินนี้ไว้


                เชิญรับชม ...
วีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้เรื่อง ขัตติยพันธกรณี