วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โวหารการเขียน "อธิบาย-บรรยาย-พรรณนา"

การใช้ภาษาอธิบาย บรรยายและพรรณนา


ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นี้ จะเรียนโวหารการเขียน/กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการถ่ายทอดและสื่อสาร 3 ประเด็นคือ อธิบาย บรรยาย และพรรณนา ซึ่งครูจะขออธิบายแบบสรุปสั้น และง่ายต่อการจำไปใช้ในห้องสอบ ดังนี้

     1. การบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง การกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิด สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้นๆ เนื้อหาในการบรรยายอาจเป็นเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมุติ เช่น นิทาน นิยาย เรื่องสั้นที่มีการเล่าเรื่อง 
ตัวอย่างการบรรยาย
            ผมเกิดที่บ้านสวน ธนบุรี หน้าบ้านติดคลองวัดดอกไม้ไม่ไกลจากสถานีตำรวจบุปผารามปัจจุบันมากนัก สถานีตำรวจแห่งนี้สร้างมาก่อนผมเกิด แต่ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เดิมเป็นเรือนไม้สูง พื้นชั้นล่างลาดซีเมนต์ มีเรือนพักตำรวจเป็นเรือนแถวเก่าๆไม่กี่ห้อง หน้าโรงพักมีถนนผ่านกลาง ฝั่งตรงข้ามคือวัดดอกไม้ ซึ่งเป็นศัพท์ชาวบ้าน ภาษาราชการเรียกว่า วัดบุปผาราม 
                  เด็กบ้านสวน  ของ พ.เนตรรังษี
     
     2. การพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งหรือชี้ให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้นๆ
*การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่ออะไร และผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ส่วนการพรเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียดเพื่อสร้างความประทับใจ

ตัวอย่างการพรรณนา ด้วยวิธีชี้ลักษณะเด่น
               “อ้อมผ่านไม้ใหญ่ขนาดสองโอบ กองธงทั้งสี่พบเห็นพญาลอหมอบซุกอยู่กลางกอหญ้าเหลืองเกรียมหน้าแดงสดใสดังสีน้ำคร่ำ ขนปีกเลื่อมระยับจับแดดเป็นสีเขียวก่ำแกมคราม แล้วทาทับด้วยทองแจ่มจนสว่างไสว ขนหางอ่อนโค้งราวแกล้งดัด เหลือบแรรุ้งร่วง กลมกลืนอ่อนแก่ดูเรียวระหง ขนอกอ่อนนุ่มดูนวลเนียนราวไม่เคยคลุกฝุ่นเผ้าละอองดิน"         หุบเขากินคน ของ มาลา คำจันทร์

ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ
          " รัศมีมีเพียงเสียงดนตรี         ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน
 ระเมียนไม้ใบโบกสุโนกเกาะ           สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น                จังหวะโจนส่งจับรับกันไป"

ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ

       สูงระหงทรงเพรียวเรียวรู     งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา        ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย            จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตรีหักงอ                 ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังคุงตะเคียว        โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม         มันน่าเชยน่าชมนางเทวี"       
 [บทละคร เรื่องระเด่นลันได  ของพระมหามนตรี(ทรัพย์)]


     3. การอธิบาย คือ การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจความจริง ความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมแยกได้ ประเภท
     3.1 การอธิบายตามลำดับขั้นตอน มักใช้กับการอธิบายกิจกรรม การปฏิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เป็นกระบวนการหรือกรรมวิธี มีขั้นตอนเป็นระยะไป เช่น การผลิตสิ่งของ การออกกำลังกาย การประกอบอาหาร เป็นต้น
     3.2 การใช้ตัวอย่าง ใช้เพื่อช่วยในการอธิบายในสิ่งที่เข้าใจยาก
     3.3 การเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างกัน เหมาะกับการอธิบายสิ่งแปลกใหม่หรือสิ่งที่ผู้ฟังไม่คุ้นเคยมาก่อน โดยพยายามหาสิ่งที่ผู้ฟังผู้อ่านคุ้นเคยหรือรู้จักดีอยู่แล้ว นำสิ่งนั้นมาเทียบเคียงและชี้ให้เห็นว่าสิ่งใหม่ที่อธิบายนั้นมีอะไรบ้างที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างไปจากที่คุ้นเคยอยู่
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกัน
           รามเกียรติ์   รัชกาลที่ 1    มีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งกระจัดพลัดพรายอยู่นั้น ให้คุมกันเข้าเป็นเรื่องละเอียดลออ ทุกแง่ทุกมุม แม้จะแต่งเป็นกลอนบทละคร  แต่ก็มิได้คำนึงถึงการนำไปแสดงละครเป็นประการสำคัญ
           รามเกียรติ์ รัชกาลที่   มีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นบทละครในโดยตรง
                                                                                  รามเกียรติ์ปริทัศน์  ของ ชำนาญ รอดเหตุภัย
     3.4 การชี้สาเหตุหรือผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
     3.5 การนิยาม คือ การให้คำจำกัดความหรือกำหนดขอบเขต ข้อตกลงในเรื่องความหมายของคำหรือศัพท์เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน
ตัวอย่างการอธิบายด้วยวิธีให้นิยาม
               ที่จริงแล้ว  โขนก็คือละครรำชนิดหนึ่งนั่นเอง (ละครใน) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 อธิบายความหมายไว้ว่า  โขน  คือ ละครชนิดหนึ่งซึ่งผู้เล่นสวมหน้ากากและหัวต่างๆที่เรียกว่า หัวโขน ส่วนละครนั้นนิยามไว้ว่า คือการมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็น                                                                 โขนละครฟ้อนรำ ภาคพิเศษ ของ สุนันทา โสรัจจ์

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
คุณครูศิริพรรณ รักร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น